knowledge
7 สรรพคุณเด่นของน้ำมันกัญชงที่คุณควรรู้!
Published date: 4 November 2022 | 06.07 PM

ในปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดเสรีกัญชา กัญชงเป็นที่เรียบร้อย กระแสความนิยมในการใช้กัญชา กัญชงในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์จากพืชทั้งสองชนิดหลั่งไหลเข้าสู่ท้องตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่วนของบทความนี้จะพาไปรู้จักกับน้ำมันสารสกัดซีบีดี (CBD Oil)  ที่สกัดมาจากพืชกัญชากัญชง 
เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้  หรือใช้เป็นส่วนผสมพิเศษต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเครื่องดื่ม 
น้ำมันหอมระเหย  เป็นต้น และวันนี้ทางซาลัส ได้สรุป 7 สรรพคุณเด่นของน้ำมันกัญชงมาไว้ในบทความนี้  

1.    รักษาอาการลมชัก (Epilepsy)

สาร CBD กับการต้านชัก (Anti-epileptic) เป็นสรรพคุณเด่นที่มีงานวิจัยมากมาย และมีการอนุมัติใช้จริงมาตั้งแต่ปี 2018 โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ได้อนุมัติให้ยากันชักเอพิดิโอเล็กซ์ (EPIDIOLEX®) ที่ใช้สาร CBD เป็นสารออกฤทธิ์หลักร่วมกับ THC 0.1% สามารถใช้รักษาได้กับเด็ก
ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เพื่อรักษาอาการชักแบบควบคุมไม่ได้ด้วยยา

งานวิจัยในปี 2019 ระบุว่า CBD มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลมชัก ช่วยลดความถี่และจำนวนการชักทั้งหมดลงได้ แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังการใช้ร่วมกับยากันชัก วาลโปรเอท (Valproate) และ โคลบาแซม (Clobazam: CLB) เนื่องจากทำให้การทำงานของตับผิดปกติ ต้องคอยติดตามค่าเอนไซม์ตับในระดับเลือดเสมอ [1] ในอนาคต CBD อาจจะได้รับการสนับสนุนให้ใช้เป็นยาทางเลือกหลัก และเป็นความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะดื้อยา ที่ใช้รักษาโรคลมชัดในอนาคต

2.    อาการเจ็บปวดและการอักเสบ (Pain and Inflammation)

งานวิจัยในปี 2020 [2] ทดลองนำน้ำมัน CBD ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัมต่อน้ำมัน CBD 3 ออนซ์ (หรือประมาณ 90 มิลลิลิตร.) กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวด
จากการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายบริเวณขา จำนวน 29 คน พบว่า หลังจากผ่านไป 4 สัปดาห์ อาการปวดรุนแรง ปวดเฉียบพลัน และมีความรู้สึกไว
ต่อความเย็นและอาการคัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีรายงานผลข้างเคียงเพิ่มเติมใด ๆ จากการใช้น้ำมัน CBD แต่อย่างไรก็ตามควรมีการวิจัยใน
กลุ่มประชาการที่ใหญ่ขึ้น และการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาว 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมัน CBD เพื่อลดอาการปวดต่างๆ ดังนี้ 
- ปวดตามเส้นประสาท (Neuropathic pain) [3] ปวดข้อเนื่องจากข้ออักเสบ (Arthritis pain) [4] ปวดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) [5] อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) [6]
 

3.    ซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and Anxiety)

สาร CBD มีผลต่อกลไกที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลและซึมเศร้าโดยตรง ซึ่งจะไปทำงานร่วมกับตัวรับ cannabinoid type 1 (CB1R), 5-HT1A และตัวรับอื่น ๆ 
ภายในสมองที่มีการควบคุมพฤติกรรมเกี่ยวกับความกลัว ความวิตกกังวลต่าง ๆ

งานวิจัยในปี 2020 จากประเทศนิวซีแลนด์ [6] ศึกษาประสิทธิภาพของ CBD เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า และลดความวิตกกังวล ในผู้ป่วยทั้งหมด 397 ราย 
ซึ่งประกอบด้วย ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยทางระบบประสาท และผู้ป่วยจิตเวช ที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมัน CBD เข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร หลังจาก 3 สัปดาห์ผ่านไป พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ในด้านการลดความวิตกกังวล อาการปวด และความเศร้าในชีวิตประจำวัน 
การใช้น้ำมัน CBD ได้รับความพึงพอใจดีและดีเยี่ยมสูงถึงร้อยละ 70 แต่กระนั้นยังคงมีรายงานว่า ผู้ป่วยร้อยละ 9.9 ได้รับผลข้างเคียงอาทิเช่น ความฝันติดตา
และอาการง่วงซึม (Vivid dream and sedation) 

ในส่วนของการใช้ CBD และภาวะซึมเศร้า สามารถอ่านเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ในบทความ “ สาร CBD รักษาหรือบรรเทาโรคซึมเศร้า

4.    การจัดการและการรักษาในผู้ติดยาเสพติด (Addiction Management and Treatment)

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Psychiatry ในปี 2019 ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน CBD ในผู้ป่วยที่มีปัญหาติดยาเสพติดเฮโรอีน
 พบว่า CBD ช่วยลดความอยากยาและลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยได้ เนื่องจาก CBD มีส่วนเข้าไปลดการทำงานของสมองส่วนอมิกดาลา (Amygdala) 
ที่เกี่ยวข้องกับภาวะการเสพติด อย่างไรก็ตามควรมีการมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม [7]

5.    ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง (Inflammatory Skin Conditions)

เมื่อร่างกายได้รับสาร CBD ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง CBD จะเข้าไปจับกับตัวรับภายในร่างกาย (Receptor) และส่งกระแสประสาทต่อไปยังเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ(Neurotransmission) ซึ่งกลไกนี้เป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารระหว่างเซลล์ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายตามธรรมชาติ  สามารถเรียกกลไกที่เกิดขึ้นนี้ได้ว่า  Endocannabinoid system (ECS) ซึ่งมีบทบาทในหลากหลายหน้าที่ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ เช่น การควบคุมความเจ็บปวด ความอยากอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และอีกบทบาทที่สำคัญ คือ

การเจริญเติบโตของเซลล์ (Cell growth) รวมทั้งเซลล์ที่พัฒนาไปมีหน้าที่เฉพาะ (Cell differentiation) CBD จึงเป็นสารหลักที่เข้ามามีบทบาทในด้านนี้ 
งานวิจัยระดับเซลล์ในปี 2014 ระบุว่า การให้สาร CBD ในระบบจำลองเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังมนุษย์สามารถยับยั้งการสร้างไขมัน และการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมไขมัน 
(ซีโบไซต์: Sebocyte) ผ่านกลไกของ ECS ด้วยคุณสมบัตินี้ผนวกกับการต้านอักเสบ (Anti-inflammatory) ทำให้ CBD มีศักยภาพและความเป็นไปได้สูง
ในการนำไปใช้รักษาสิวบนผิวหนังของมนุษย์ [8]

6.    การปกป้องระบบประสาท (Neuroprotection)

ด้วยคุณสมบัติในการต้านอักเสบ (Anti-inflammatory) และต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) ของ CBD ในการวิจัยในสัตว์ทดลอง จึงมีความเป็นไปได้ว่า CBD 
มีคุณสมบัติในด้านการปกป้องระบบประสาท (Neuroprotective effect) [1] และในบางประเทศมีการสั่งยา Sativex® ซึ่งเป็นยาที่มีส่วนผสม CBD และ THC 
ในการบรรเทาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบหลายจุด แต่ทั้งนี้กลไกการออกฤทธิ์ยังคงต้องมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต

7.    บรรเทาอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด (Relief from Chemotherapy Side Effects)

สาร CBD รวมทั้ง สาร Cannabidiolic acid (CBDA) มีความสามารถในการลดอาการคลื่นไส้และภาวะคลื่นไส้อาเจียนก่อนการได้รับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง
ที่เข้ารับการเคมีบำบัด ผ่านตัวรับ CB1 ในระบบ ECS โดยไม่ก่อให้เกิดอาการทางจิตประสาทตามมา ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง
สำหรับอาการคลื่นไส้เหล่านี้ สาร CBD และ สาร CBDA จึงอาจได้รับการบรรจุลงในการรักษาหลัก เป็นความหวังใหม่ในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้
กับผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับเคมีบำบัดได้ในอนาคต [9]

       จากข้อมูลที่ได้กล่าวในข้างต้น จะเห็นว่าสาร CBD ที่ได้จากการสกัดพืชกัญชากัญชงมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน ฉะนั้นในการเลือกใช้งานก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ  และเป้าหมายของแต่ละคน และที่สำคัญที่สุดควรเลือกใช้แต่พอดีเพื่อส่งผลดีต่อร่างกายจะดีที่สุด

ซึ่งทางบริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล (ประเทศไทย) ได้พัฒนาพืชกัญชงและกัญชา โดยใช้เทคโนโลยีผลิตสารสกัดที่ทันสมัย และควบคุมโดยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มีระบบการจัดการที่ดีเยี่ยม และได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และมีสรรพคุณต่างๆที่ช่วยส่งผลต่อการบรรเทาอาการและฟื้นฟูสภาพร่างกาย 
บริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล มุ่งเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสำหรับตลาดในประเทศ โดยทุก ๆ ขั้นตอนการผลิตภายในโรงงานได้ถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP/PICs เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมีคุณภาพสม่ำเสมอ ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ แม่นยำ มีประสิทธิภาพ 
และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในประเทศไทย ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก

เอกสารอ้างอิง

[1]    Silvestro S, Mammana S, Cavalli E, Bramanti P, Mazzon E. Use of Cannabidiol in the Treatment of Epilepsy: Efficacy and Security in Clinical Trials. Molecules. 2019 Apr 12;24(8):1459. doi: 10.3390/molecules24081459.

[2]    Xu DH, Cullen BD, Tang M, Fang Y. The Effectiveness of Topical Cannabidiol Oil in Symptomatic Relief of Peripheral Neuropathy of the Lower Extremities. Curr Pharm Biotechnol. 2020; 21(5): 390-402. doi: 10.2174/1389201020666191202111534.

[3]    Meng, Howard; Johnston, Bradley; Englesakis, Marina MLIS; Moulin, Dwight E.; Bhatia, Anuj. Selective Cannabinoids for Chronic Neuropathic Pain: A Systematic Review and Meta-analysis. Anesthesia & Analgesia 2017; 125 (5): 1638-1652 doi: 10.1213/ANE.0000000000002110

[4]    Hammell DC, Zhang LP, Ma F, Abshire SM, McIlwrath SL, Stinchcomb AL, Westlund KN. Transdermal cannabidiol reduces inflammation and pain-related behaviours in a rat model of arthritis. Eur J Pain. 2016; 20(6): 936-948. doi: 10.1002/ejp.818.

[5]    National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine; Health and Medicine Division; Board on Population Health and Public Health Practice; Committee on the Health Effects of Marijuana: An Evidence Review and Research Agenda. The Health Effects of Cannabis and Cannabinoids: The Current State of Evidence and Recommendations for Research. Washington (DC): National Academies Press (US); 2017 Jan 12. 4, Therapeutic Effects of Cannabis and Cannabinoids. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK425767/

[6]    Gulbransen G, Xu W, Arroll B. Cannabidiol prescription in clinical practice: an audit on the first 400 patients in New Zealand. BJGP Open. 2020; 4(1) doi: 10.3399/bjgpopen20X101010.

[7]    Yasmin L. Hurd, Sharron Spriggs., Julia Alishayev, Gary Winkel, Kristina Gurgov, Chris Kudrich, Anna M. Oprescu, Edwin Salsitz. Cannabidiol for the Reduction of Cue-Induced Craving and Anxiety in Drug-Abstinent Individuals With Heroin Use Disorder: A Double-Blind Randomized Placebo-Controlled Trial. Am J Psychiatry. 2019; 176: 11. Doi: 10.1176/appi.ajp.2019.18101191

[8]    Oláh A, Tóth BI, Borbíró I, Sugawara K, Szöllõsi AG, Czifra G, Pál B, Ambrus L, Kloepper J, Camera E, Ludovici M, Picardo M, Voets T, Zouboulis CC, Paus R, Bíró T. Cannabidiol exerts sebostatic and antiinflammatory effects on human sebocytes. J Clin Invest. 2014 Sep;124(9):3713-24. doi: 10.1172/JCI64628.

[9]    Rock EM, Sticht MA, Limebeer CL, Parker LA. Cannabinoid Regulation of Acute and Anticipatory Nausea. Cannabis Cannabinoid Res. 2016 Apr 1;1(1):113-121. doi: 10.1089/can.2016.0006.

Latest บทความ