บทความ
การเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชงที่ได้มาตรฐาน และผลข้างเคียงหากสารสกัดกัญชงที่ไม่ได้มาตรฐาน
Published date: 3 มกราคม 2566 | 02.16 PM

กัญชงเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายและสามารถใช้ได้หลายรูแบบ อาทิเช่น กัญชงสด น้ำมันกัญชงที่อุดมไปด้วยสารแคนนาบิไดออล (CBD oil) และสารสกัดแคนนาบิไอออล
บริสุทธิ์ (CBD isolate) ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอาง ตลอดจนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหารทานเล่น อาทิเช่น เยลลี่ CBD ถึงแม้ว่า CBD เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่นเดียวกับ Tetrahydrocannabinol (THC) แต่อันตรายที่อาจเกิดจากการบริโภคเกินขนาดยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง และมากยิ่งไปกว่านั้นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคควรเลือกใช้กัญชงและสารสกัดจากกัญชงที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ปลอดภัย และปราศจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้สารสกัดจากกัญชง

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้สารสกัด CBD เกินขนาด (Adverse effects and Overdose of CBD)

 

จากงานวิจัยของ Iffland และ Grotenhermen ปี 2017 [1] ยืนยันว่ามนุษย์สามารถบริโภค CBD ได้ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงถึง 1,500 มิลลิกรัม และไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมา แต่พบว่ามีผลข้างเคียงจากการบริโภคน้ำมัน CBD บรรจุขวด 1 ออนซ์ (หรือประมาณ 30 มล.) ที่มีปริมาณ CBD ตั้งแต่ 300 ถึง 1,500 มิลลิกรัม  โดยที่อาการไม่พึ่งประสงค์ที่พบได้ อาทิเช่น อาเจียน ท้องเสีย ง่วงนอน เป็นต้น

ในปี 2020 [2] มีรายงานว่า พบชายอายุ 56 ปี มีอาการอาเจียน และพูดไม่ชัดหลังจากการรับประทาน CBD กัมมี่ จำนวน 2 ห่อ ที่มีปริมาณ CBD รวม 370 มิลลิกรัม เพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง ซึ่งคาดว่าอาจจะเกิดจากการรับประทาน CBD กัมมี่ เกินปริมาณที่แนะนำให้บริโภค โดยที่ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคคือ 30 มิลลิกรัม และในปีเดียวกันนี้เอง [3] มีรายงานว่า มีเด็กอายุ 9 ปี ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลทันที เนื่องจากบริโภค CBD ที่มารดาซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อใช้รักษาอาการชักในปริมาณที่มากเกินขนาด เมื่อทำการตรวจสอบปัสสาวะพบว่ามีปริมาณ THC ค่อนข้างสูง

 

โลหะหนัก (Heavy metals) อันตรายที่แอบแฝงมาตั้งแต่เพาะปลูก

 

โลหะหนัก (Heavy metal) คือธาตุโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู ปรอท โลหะหนักเหล่านี้มีอัตราการสลายตัวค่อนข้างช้าและมีความคงตัวสูง จึงสามารถสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน โดยเฉพาะทางดินและน้ำ ดังนั้นคุณภาพดินและน้ำที่ใช้ในการปลูกกัญชงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกัญชงเป็นพืชที่มีความสามารถในการดูดซึมโลหะหนักจากสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และนำไปสะสมตามส่วนต่างๆ ของพืช อาทิเช่น ก้านดอกและช่อดอก ดังนั้นเมื่อทำการสกัดสาร CBD จากดอกกัญชง จึงมีโอกาสที่โลหะหนักเหล่านี้จะปนเปื้อนในสารสกัด CBD ได้เช่นกัน มากยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐานการควบคุมปริมาณโลหะหนักหรือกฏหมายเกี่ยวข้องยังไม่มีประกาศออกมาอย่างแน่ชัดสำหรับสำหรับพืชกลุ่มนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้ผู้บริโภคอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับโลหะหนักที่เป็นพิษเหล่านี้ได้โดยง่ายจากการบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารสกัดจากกัญชงที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน เมื่อปริมาณของโลหะหนักที่สะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น จนมากเกินปริมาณที่ร่างกายจะสามารถรับได้ จะก่อให้เกิดภาวะพิษที่ทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรงและนำไปสู่โรคมะเร็ง [5] 

 

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือยาฆ่าแมลง (Pesticide) ภัยร้ายที่มาจากการเพาะปลูก

จากงานวิจัยเกี่ยวกับยาฆ่าแมลงในพืชตระกูลกัญชง [6] พบว่ามีการใช้ยาฆ่าแมลงมากถึง 350 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงยาฆ่าเชื้อรา และสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ในจำนวนนี้มีสารกำจัดศัตรูพืช 16 ชนิด และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulators) 3 ชนิด เป็นหลัก โดยองค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้สารเหล่านี้ถูกจัดในระดับอันตรายปานกลางเมื่อบริโภคหรือได้รับเข้าสู่ร่างกาย 

ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานการตรวจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชในพืชตระกูลนี้โดยเฉพาะ และยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะผลข้างเคียงเรื้อรังที่เกิดจากการสะสมของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากการที่ร่างกายได้รับในปริมาณที่น้อยแต่เป็นระยะเวลานาน

 

เชื้อจุลินทรีย์ (Microbial) อีกหนึ่งอันตรายที่มาโดยไม่รู้ตัว

จากงานวิจัยเชื้อจุลลินทรีย์ในพืชตระกูลกัญชงของ Mckernan, K et. al. [7] พบว่าในพืชกัญชงมีเชื้อจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย  ส่วนใหญ่ที่พบมีแนวโน้มสูงที่เป็นจำพวกกลุ่มจุลินทรีย์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตพืช หรือเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ก่อโรคในพืช แต่ทั้งนี้พบว่ามีจุลินทรีย์บางจำพวกที่สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อรา Aspergillus sp., Penicillium sp. หรือ Fusarium sp. ที่อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร่างกาย เนื่องจากสารพิษที่ผลิตออกมาจากเชื้อราเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins) ฟูโมนิซิน (Fumonisins) สารเหล่านี้ถือว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นพิษต่อตับและอวัยวะของระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยที่ Aspergillus sp. เป็นเชื้อราที่พบการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์มากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาขั้นตอนการทดสอบมาตรฐานของการตรวจสารพิษจากเชื้อราในผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลนี้จึงมีความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาสารสกัดกัญชงในการบำบัดหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ 

จากกรณีตัวอย่างข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการปนเปื้อนของ โลหะหนัก สารเคมีอันตราย และเชื้อจุลลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์ CBD [4] เนื่องจากผลิตภัณฑ์ CBD ที่ใช้ไม่มีคุณภาพ และไม่มีมาตรฐาน ไม่มีการระบุปริมาณสารสำคัญที่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีการระบุคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง

เพื่อลดความเลี่ยงจากอันตรายที่เกิดจากการปนเปื้อนต่าง ๆ รวมทั้งการบริโภคเกินขนาด การเลือกบริโภคเฉพาะผลิตภัณฑ์จากกัญชงที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีการระบุปริมาณที่ชัดเจน จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ด้วยบริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล (ประเทศไทย) จำกัด เราเป็นผู้ผลิตสารสกัดจากกัญชากัญชง ที่ให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพทุกกระบวนการ จึงมั่นใจว่า ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีและได้มาซึ่งสารสกัดกัญชากัญชงที่มีคุณภาพสูงเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ พิถีพิถันในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว และเป็นผู้ผลิตสารสกัดจากช่อดอกต้นกัญชงที่มีคุณภาพสูงระดับพรีเมียม (Premium Grade) ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเพื่อส่งมอบแก่ผู้บริโภค  

(อ่านรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ Premium Grade เพิ่มความมั่นใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชงที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ได้ที่บทความ ผลิตภัณฑ์แคนนาบิไดออลเกรดพรีเมียมโดยซาลัส )
 

เอกสารอ้างอิง

[1] Iffland K, Grotenhermen F. An Update on Safety and Side Effects of Cannabidiol: A Review of Clinical Data and Relevant Animal Studies. Cannabis Cannabinoid Res. 2017; 2(1): 139-154. doi: 10.1089/can.2016.0034. 

[2] Bass J, Linz DR. A Case of Toxicity from Cannabidiol Gummy Ingestion. Cureus. 2020; 12(4): e7688. doi: 10.7759/cureus.7688.

[3] Jim Herbst, Gyen Musgrave. Respiratory depression following an accidental overdose of a CBD-labeled product: a pediatric case report. J Am Pharm Assoc. 2020 ;60 :248–252.

[4] Montoya Zackary, Conroy Matthieu, Vanden Heuvel Brian D., Pauli Christopher S., Park Sang-Hyuck. Cannabis Contaminants Limit Pharmacological Use of Cannabidiol, Frontiers in Pharmacology. 2020; 11. doi: 10.3389/fphar.2020.571832    

[5] Louis Bengyella, Mohammed Kuddus, Piyali Mukherjee, Dobgima J. Fonmboh, John E. Kaminski. Global impact of trace non-essential heavy metal contaminants in industrial cannabis bioeconomy. Toxin Reviews, 2021; 1 doi: 10.1080/15569543.2021.1992444

[6] Taylor, A, Birkett, JW. Pesticides in cannabis: A review of analytical and toxicological considerations. Drug Test Anal. 2020; 12: 180-190. https://doi.org/10.1002/dta.2747

[7] Mckernan, K., Spangler, J., Helbert, Y., Lynch, R. C., Devitt-Lee, A., Zhang, L., et al. (2016). Metagenomic analysis of medicinal cannabis samples; pathogenic bacteria, toxigenic fungi, and beneficial microbes grow in culture-based yeast and mold tests. F1000Research 5, 2471. doi: 10.12688/f1000research.9662.1


 

Latest บทความ