บทความ
สร้างจุดแข็งให้ธุรกิจอาหาร เติมความแตกต่างด้วยสารสกัดจากกัญชง
Published date: 3 มกราคม 2566 | 04.51 PM

สร้างจุดแข็งให้ธุรกิจอาหาร เติมความแตกต่างด้วยสารสกัดจากกัญชง

ธุรกิจอาหารในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตที่ท้าทายและแข่งขันสูงมากในยุคที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปและรูปแบบการใช้บริการและความต้องการซื้อที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นการซื้ออาหารแบบเดลิเวอรี่ที่ตอบโจทย์มากกว่า ทำให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ในวงการอาหารเกิดขึ้น ทุกคนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของแบรนด์ สามารถผลิตสินค้าเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้ แข่งกับความคาดหวังของผู้บริโภคทั้งในด้านคุณค่าและคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการเองก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและการเข้าไปเป็นผู้นำและส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้

การสร้างจุดแข็งในการแข่งขันของธุรกิจอาหาร จำเป็นต้องสร้างคุณค่าให้ความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค ไม่ได้มีแค่ “ราคาที่คุ้มค่ากับคุณภาพและความอร่อย” กับอีกต่อไป และเสียงสะท้อนที่จะทำให้ทุกธุรกิจอาหารยืนหยัดต่อไปได้ส่วนหนึ่งก็คือ การรีวิวสินค้าและการสร้างจุดแข็งและจุดขายที่โดดเด่นของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่กำลังแข่งขันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารและส่งต่อการสื่อสารกันอย่างรวดเร็วและกว้างขวางในสังคมออนไลน์ที่เป็นดาบสองคมที่ผู้ประกอบการอาหารจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อไป

การสร้างจุดแข็งและจุดเด่นให้ธุรกิจอาหารในโลกปัจจุบัน

การสร้างจุดเด่น จุดขายและจุดแข็งของธุรกิจอาหารในปัจจุบันมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า “คุณภาพและความอร่อยในรสชาติของอาหาร” เพราะอาหารที่ดีที่สุดในโลก คือ อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้ชีวิตยืนยาวไม่เจ็บป่วย และการสร้างจุดแข็งและจุดเด่นให้ธุรกิจอาหารในโลกปัจจุบันจะต้องคำนึงถึง “การสร้างความแตกต่างของคุณค่าในการเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์” ดังนั้น เทรนอาหารเพื่อสุขภาพที่มีบทบาทมากที่สุดในตอนนี้ จะต้องเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถคืนความหนุ่มสาว เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันการเจ็บป่วย ให้ความพึงพอใจและอรรถรสในการบริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

กัญชง (Hemp)  จึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดสำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Health Care ) หรือการดูแลสุขภาพของคนไทย ที่มีหลายบริษัทของอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยนำไปสร้างประโยชน์และธุรกิจใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการสร้างความคุ้มค่าในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ในวงการและอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ถึงแม้ว่าประชาชนบางส่วนจะยังสับสนระหว่าง “กัญชา” และ “กัญชง” แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ความนิยมในการบริโภคลดน้อยลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนให้ความสนใจและอยากได้ข้อมูลที่มากขึ้น และแน่นอนว่า ความสนใจใคร่รู้คือการสร้างโอกาสในการคิดค้นนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นความท้าทายของผู้ประกอบอาหารเพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคในยุคนี้ที่มีการสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว

การนำกัญชง ที่มีสารสกัด Cannabidiol (CBD) ที่เป็นสารไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ไม่ทำให้มึนเมา มีฤทธิ์ระงับอาการปวด ลดการอักเสบ ลดอาการชักเกร็ง และลดความกังวล ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมหาศาล และนำคุณสมบัติที่มีมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในผลิตภัณฑ์ ยา อาหารและเครื่องดื่ม นั้นเป็นความท้าทายและความแตกต่างของการสร้างการแข่งขันในธุรกิจอาหาร และ กัญชง จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทางด้านการดูแลสุขภาพในอนาคต ประชาชนทั่วโลกจะเริ่มรับรู้ข้อมูล และเริ่มเข้าใจเห็นภาพที่ชัดเจนของประโยชน์จากกัญชง และสาร CBD จากนั้นจะเริ่มให้ความสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชงเพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวมากยิ่งขึ้น  ก่อให้เกิดการแข่งขันและความท้าทายของธุรกิจอาหารและอาหารเสริมที่เข้มข้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

กัญชงกับการสร้างความแตกต่างทางธุรกิจเพื่อสุขภาพ

การเริ่มต้นคิดค้นนวัตกรรม คือ ปัจจัยแรกของการเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและความคิด  ดังนั้น การสร้างความแตกต่างของธุรกิจสุขภาพ จะต้องเป็นการสร้าง “คุณค่าและความพึงพอใจ” ในยุคนี้ โดยเฉพาะในปี 2566 ที่กำลังมาถึง การทำธุรกิจเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ ความรับผิดชอบทางสังคมทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 

การนำสารสกัดจากกัญชง หรือ สาร CBD (Cannabidiol) มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารนั้น ไม่จัดว่าเป็นการใช้สารเสพติด เพราะสาร CBD ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและไม่ทำให้มึนเมาเหมือนสาร THC ( Tetrahydrocannabinol ) ในกัญชา และสาร CBD ยังมีประโยชน์ในด้านการออกฤทธิ์เพื่อคลายเครียด ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทในร่างกาย ป้องกันอาการชัก แก้ปวด ป้องกันการเกิดเนื้องอก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติดได้เหมือนสารเสพติด การนำกัญชงหรือสารสกัด CBD มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารจึงทำได้หลากหลายผลิตภัณฑ์เช่น

  • การสร้างผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสมุนไพร ยา และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ลดอาการเบื่ออาหารในกลุ่มผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้ หรือ ฟื้นฟูสุขภาพหลังการผ่าตัดหรือการเจ็บป่วย เป็นต้น
  • การนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับพักผ่อนได้มีประสิทธิภาพขึ้น เป็นต้น
  • การนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวพรรณ หรือ เครื่องสำอางในด้านความสวย ความงาม เพราะสาร CBD มีคุณสมบัติในการต่อต้านการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูและบำรุงผิวพรรณ ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ เป็นต้น โดยเครื่องสำอางที่ใช้สาร CBD เป็นส่วนผสม เช่น ครีม โลชั่น สบู่ แชมพู ลิปบาล์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ยาหม่อง เป็นต้น

ด้วยคุณสมบัติและประโยชน์ที่กล่าวมา การนำสารสกัด CBD จากกัญชงมาใช้ในธุรกิจอาหารจะกลายมาเป็นจุดแข็ง และการสร้างความแตกต่างทางการตลาดในอนาคต แข่งกับความท้าทายของเวลาและการเป็นผู้นำในการเริ่มต้นนวัตกรรมการคิดค้นสินค้าและผลิตภัณฑ์ก่อนสู่ตลาดผู้บริโภคต่อไป

อ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). กัญชาทางการแพทย์. แหล่งที่มา www.medcannabis.go.th.

ฐนิตา  ทวีธรรมเจริญ .(2553). อาหารเสริม. แหล่งที่มา www.si.mahidol.ac.th. (23 ธันวาคม 2565)

สถาบันพัฒนาและวิจัยพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน).(2564).  สารสกัดกัญชง (CBD Hemp oil). แหล่งที่มา 

https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/1478. 23 ธันวาคม 2565)

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (ฉบับ 7 มิถุนายน 2565). สรุป 10 เทรนด์ “อาหารและเครื่องดื่ม” มาแรงปี 2022.

แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/business/1007336. (23 ธันวาคม 2565)

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. ( ฉบับ 17 กันยายน 2565). อนาคตของ “กัญชง” กับธุรกิจเฮลท์แคร์. แหล่งที่มา

https://www.thairath.co.th/business/market/2502137. (23 ธันวาคม 2565)

Latest บทความ