บทความ
กัญชงใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น
Published date: 1 มิถุนายน 2565 | 12.39 PM

          กัญชง ถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทุกส่วน ต้นทุนไม่สูง ซึ่งในต่างประเทศมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุกส่วนของต้นกัญชงเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกด้วย ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและธุรกิจต่าง ๆ ได้ 

 

อ่านรายละเอียดของ “กัญชง” เพิ่มได้ที่บทความ [ Cannabis 101 ]

 


 

วันนี้ซาลัสจะพาทุกคนมารู้จักและเข้าใจในแต่ละส่วนของต้น “กัญชง” ว่าส่วนไหนสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง!

 

 

 


1. ราก มีสารสำคัญใช้ในทางการแพทย์ และเครื่องสำอาง เช่น สบู่ ผงขัดผิว 

 

2. แกนลำตัน (Hurds Hemp) หรือเปลือกแกนลำต้น (Shives Hemp) ให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้ายและเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม และยังใช้ทำเครื่องสำอาง ครีมขัดผิว สบู่ แชมพู

 

3. เนื้อของลำต้น ที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้ 

 

4. แกนของต้นกัญชง

แกนของต้นกัญชงมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำ หรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้ แกนกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย

 

5. ใบ 

ใบกัญชงสามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำใบมาเป็นชาเพื่อสุขภาพ, นำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม, ผลิตเป็นอาหารโดยตรงอย่างเส้นพาสต้า, คุกกี้, หรือขนมปัง, ใช้ทำเบียร์, ไวน์ และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง

 

6. เมล็ด [4] 

เมล็ดกัญชงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย หรือนิยมเรียกกันว่า super food จากงานวิจัยพบว่าน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมี omega-3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมี omega-6, omega-9, linoleic acid, alpha-linolenic acid และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย

 

7. น้ำมันจากเมล็ด 

สามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม แผ่นมาส์กหน้า หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลเป็นอย่างดี

นอกจากจะได้น้ำมันแล้ว ยังพบว่ามีโปรตีนสูงมากอีกด้วย สามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารเสริม หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMOs ก็เป็นได้

 

8. ช่อดอก 

ช่อดอกกัญชงเป็นส่วนของกัญชงที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ค่อนข้างสูง สารสกัดที่ได้จากช่อดอกหรือที่เรียกว่าน้ำมัน CBD มีประโยชน์มากมายทั้งทางการแพทย์ ผลิตเป็นเวชสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และอาหารสัตว์

 

อ่านรายละเอียดของ “สารแคนนาบินอยด์” เพิ่มเติมได้ที่บทความ [ Major Cannabinoids ]

 

สำหรับสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ที่ได้จากช่อดอกกัญชง มีการศึกษาค้นพบว่าสารดังกล่าวมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพหลายอย่าง สามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น

•  ช่วยคลายอาการวิตกกังวลและลดความตึงเครียด [5] 

•  บรรเทาอาการลมชักต่าง ๆ (Epilepsy) และลมบ้าหมู [6]

•  บรรเทาอาการภาวะป่วยทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) [7]

•  สามารถลดและป้องกันการเกิดอาการทางจิตหรืออาการจิตเภทแบบฉับพลัน (acute psychotic symptoms) [8]

•  บรรเทาอาการกลุ่มผู้ป่วยที่ติดยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์ (Opioid) [9]

•  บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง [10]

•  บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังและลดอาการคลื่นไส้หลังการทำเคมีบำบัดจากโรคมะเร็ง [11]

•  มีส่วนช่วยบรรเทาอาการโรคเบาหวาน [12-14]

•  บรรเทาอาการพาร์กินสัน (อาการสั่น) [15]

•  มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ [16]

•  มีคุณสมบัติต้านอาการอักเสบและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูและปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด [14]
 

อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ในพืชวงศ์กัญชงนี้เพื่อมารักษาโรคต่าง ๆ ต่อไป

 

อ่านรายละเอียดของ "การทำงานของ Cannabinoid กับตัวรับสารสื่อประสาทที่มีผลต่อระบบประสาทในร่างกายเพิ่มเติมได้ที่บทความ [ Endocannabinoid System ]

 

ทุกส่วนของต้นกัญชงล้วนใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตอบโจทย์แต่ละธุรกิจได้ โดยทางบริษัท “ซาลัส ไบโอซูติคอล” เป็นโรงงานผลิต สารสกัดจากช่อดอกต้นกัญชงที่มีคุณภาพสูงที่สุด (Premium Grade) ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและดีที่สุดในตลาดกัญชง ประเทศไทย  และปัจจุบันนี้มีเพียง 3 เครื่องในโลกเท่านั้น ซึ่งอยู่ที่บริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล (ประเทศไทย) เจ้าเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ข้อมูลอ้างอิง

1. มนทิรา สุขเจริญ และ พันธวัศ สัมพันธ์พานิช. จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”.   [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา:  http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6131/256 . [2565, พฤษภาคม 19]

2. Oryor Digital Library. ดีเดย์! 29 ม.ค. 64 ขออนุญาตปลูกกัญชงได้แล้ว. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา:  https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1980 .  [2565, พฤษภาคม 19]

3. Mahapatra, N.N. Extraction, processing, properties and use of hemp fiber. TextileToday. [Online]. 2018. Available from:  https://www.textiletoday.com.bd/extraction-processing-properties-and-use-of-hemp-fiber/ . [2018, May 28]

4. Sherry, C. Hemp: What Is Hemp? Nutritional Advantages of Eating Hemp Seeds and Hempseed Oil. [Online]. 2021. Available from:  https://www.verywellhealth.com/hemp-benefits-side-effects-dosage-and-interactions-4767355 . [2021, September 22]

5. Blessing, E. M., Steenkamp, M. M., Manzanares, J., & Marmar, C. R. Cannabidiol as a potential treatment for anxiety disorders. Neurotherapeutics 2015, 12 (4), 825-836.

6. Office of the Commissioner. FDA approves first drug comprised of an active ingredient derived from marijuana to treat rare, severe forms of epilepsy. In U.S. Food and Drug Administration, 2021; Vol. Accessed 5.

7. Berardi, A., Schelling, G., & Campolongo, P. The endocannabinoid system and Post Traumatic Stress Disorder (PTSD): From preclinical findings to innovative therapeutic approaches in clinical settings. Pharmacological research 2016, 111, 668-678.

8. Bhattacharyya, S., Morrison, P. D., Fusar-Poli, P., Martin-Santos, R., Borgwardt, S., Winton-Brown, T., Nosarti, C., O'Carroll, C. M., Seal, M., & Allen, P. Opposite effects of Δ-9-tetrahydrocannabinol and cannabidiol on human brain function and psychopathology. Neuropsychopharmacology 2010, 35 (3), 764-774.

9. Hurd, Y. L., Yoon, M., Manini, A. F., Hernandez, S., Olmedo, R., Ostman, M., & Jutras-Aswad, D. Early phase in the development of cannabidiol as a treatment for addiction: opioid relapse takes initial center stage. Neurotherapeutics 2015, 12 (4), 807-815.

10. Meyer, T., Funke, A., Münch, C., Kettemann, D., Maier, A., Walter, B., Thomas, A., & Spittel, S. Real world experience of patients with amyotrophic lateral sclerosis (ALS) in the treatment of spasticity using tetrahydrocannabinol: cannabidiol (THC: CBD). BMC neurology 2019, 19 (1), 1-13.

11. Peres, F. F., Lima, A. C., Hallak, J. E., Crippa, J. A., Silva, R. H., & Abílio, V. C. Cannabidiol as a promising strategy to treat and prevent movement disorders? Frontiers in pharmacology 2018, 9, 482.

12. Lehmann, C.; Fisher, N. B., Tugwell, B., Szczesniak, A., Kelly, M., & Zhou, J. Experimental cannabidiol treatment reduces early pancreatic inflammation in type 1 diabetes. Clinical hemorheology and microcirculation 2016, 64 (4), 655-662.

13. Jadoon, K. A., Ratcliffe, S. H., Barrett, D. A., Thomas, E. L., Stott, C., Bell, J. D., O’Sullivan, S. E., & Tan, G. D. Efficacy and safety of cannabidiol and tetrahydrocannabivarin on glycemic and lipid parameters in patients with type 2 diabetes: a randomized, double-blind, placebo-controlled, parallel group pilot study . Diabetes Care 2016, 39 (10), 1777-1786.

14. Rajesh, M., Mukhopadhyay, P., Bátkai, S., Hasko, G., Liaudet, L., Drel, V. R., Obrosova, I. G., & Pacher, P. Cannabidiol attenuates high glucose-induced endothelial cell inflammatory response and barrier disruption. American Journal of Physiology-Heart and Circulatory Physiology 2007, 293 (1), H610-H619.

15. Chayasirisobhon, S. The Role of Cannabidiol in Neurological Disorders. Perm. J 2021, 25.

16. Malfait, A. M., Gallily, R., Sumariwalla, P. F., Malik, A. S., Andreakos, E., Mechoulam, R., & Feldmann, M. The nonpsychoactive cannabis constituent cannabidiol is an oral anti-arthritic therapeutic in murine collagen-induced arthritis. Proc Natl Acad Sci U S A 2000, 97 (17), 9561-6

Latest บทความ