บทความ
สร้างความแตกต่างให้กับ Caffeine Drink กับกัญชง
Published date: 29 กรกฎาคม 2565 | 06.49 PM

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ 1) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcohol) ประกอบด้วยเครื่องดื่มหลากหลายประเภท เช่น น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ ชา-กาแฟพร้อมดื่ม เป็นต้น และ 2) กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol) อาทิ เบียร์ สุรา ไวน์ 

โดยที่ภาพรวมตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Beverages) ทั้งในไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มอัตราการแข่งขันและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเครื่องดื่มสุขภาพ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน [1] ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มตามร้านสะดวกซื้อ หรือเครื่องดื่มชงสดจากคาเฟ่ ด้วยความหลากหลายของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและเพื่อการแข่งขันทางการตลาด การทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นดึงดูดลูกค้าจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ และหนึ่งในวิธีนั้นคือการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยสารสกัดแคนนาบิไดออล(Cannabidiol, CBD) 


 

การทำงานร่วมกันระหว่างแคนนาบิไดออลกับคาเฟอีน  

ณ ปัจจุบัน คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มการตื่นตัว ลดอาการเหนื่อยล้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ต้องอาศัยสมาธิได้ดียิ่งขึ้น [2] อีกทั้งมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างคาเฟอีนและแคนนาบิไดออล ว่ามีผลเสริมกันในด้านของการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย [3]

จากงานวิจัย Journal of Internal Medicine (2018) เกี่ยวกับผลกระทบของการบริโภคกาแฟต่อการเพิ่มขึ้นของสารเมแทบอไลต์ (Metabolite) หรือสารที่ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านกลไกทางชีวเคมีภายในร่างกาย โดย 1 ใน 5 ของกลไกชีวเคมีหลักในร่างกายที่มีการตอบสนองเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับคาเฟอีน คือ กลไกของ Endocannabinoid [4] 

(อ่านรายละเอียดของ Endocannabinoid system (ECS) เพิ่มเติมได้ที่บทความ Endocannabinoid system )

ในการศึกษาอื่นๆ อาทิเช่น อิทธิผลของน้ำมันแคนนาบิไดออลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท

อะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการตื่นตัวเป็นหลัก พบว่าน้ำมันแคนนาบิไดออลจะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวรับอะดีโนซีน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณอะดีโนซีนอิสระเพิ่มขึ้น ปริมาณอะดีโนซีนที่เพิ่มขึ้นทำให้ยิ่งรู้สึกผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวลที่เกิดจากคาเฟอีน ในทางตรงกันข้ามคาเฟอีนจะยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีน โดยเข้าไปขัดขวางการจับระหว่างอะดีโนซีนกับตัวรับอะดีโนซีน การยับยั้งนี้เองส่งผลทำให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น [4] ผลข้างเคียงที่ตามมาจากการบริโภคคาเฟอีน อาทิเช่น อาการใจสั่น หรืออาการกระวนกระวาย มากยิ่งไปกว่านั้นปริมาณสารสื่อประสาทอะดีโนซีนที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวรับอะดีโนซีน ยังสามารถจับกับโปรตีนเพื่อส่งสัญญาณในการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันต่อๆ ไปอีกด้วย [5, 6] กลไกที่เกิดขึ้นภายในร่างกายนี้เองที่สนับสนุนว่าสารสกัดแคนนาบิไดออลมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและต้านความวิตกกังวล 


 

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม ที่มีส่วนผสมแคนนาบิไดออลนั้น จะส่งผลทำให้ร่างกายมีความตื่นตัวได้โดยที่ไม่มีอาการกระวนกระวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ที่ไวต่อคาเฟอีน เนื่องจากแคนนาบิไดออลจะมีส่วนช่วยลดการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการอุสาหกรรมเครื่องดื่ม ทั้งรายใหญ่ และรายย่อย ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นแตกต่างจากผู้ประกอบการอื่นๆ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ด้วยสารสกัดแคนนาบิไดออลที่มีคุณภาพสูงที่สุด (Premium Grade) และมีความบริสุทธิ์สูงจากทางบริษัทซาลัส ไบโอซูติคอล ที่การผลิตทุกๆ ขั้นตอนภายในโรงงานได้ถูกกำหนดให้ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน GMP/PICs เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมีคุณภาพสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบมาตรฐานที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพสามารถเชื่อถือได้ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในประเทศไทย ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์สารสกัดแคนนาบิไดออลของ ทางบริษัทซาลัส ไบโอซูติคอลมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ โดยที่ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแคนนาบิไดออลรูปแบบผงละลายน้ำได้ (Broad-spectrum CBD) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและตอบโจทย์สำหรับเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เนื่องจากสามารถละลายในน้ำได้ดี จึงสะดวกต่อการนำไปใช้และการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มต่าง ๆ  ต่อไป


 

ข้อมูลอ้างอิง

[1] Wanna Yongpisanphob แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม [ออนไลน์] แหล่งที่มา https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Beverage/IO/io-beverage-20-th  [2565 มิถุนายน 10]

[2] Smith A. Effects of caffeine on human behavior. Food and Chemical Toxicology. 2002; 40(9): 1243–1255. https://doi.org/10.1016/S0278-6915(02)00096-0

[3] Bellocchi, L., et al. The endocannabinoid system and energy metabolism. Journal of neuroendocrinology 2008; 20(6): 850-857.

[3] Cornelis M C, Erlund I, Michelotti G A, Herder C, Westerhuis J A, Tuomilehto J. Metabolomic response to coffee consumption: Application to a three-stage clinical trial. Journal of Internal Medicine. 2018; 283(6): 544–557. https://doi.org/10.1111/joim.12737

[4] Costenla A R, Cunha R A, de Mendonça A. Caffeine, adenosine receptors, and synaptic plasticity. Journal of Alzheimer’s Disease: JAD, 2010; 20 Suppl 1: S25-34. https://doi.org/10.3233/JAD-2010-091384

[5] Liou G I, Auchampach J A., Hillard C J, Zhu G, Yousufzai B, Mian S, Khan S, Khalifa Y. Mediation of Cannabidiol Anti-inflammation in the Retina by Equilibrative Nucleoside Transporter and A2A Adenosine Receptor. Investigative Ophthalmology & Visual Science. 2008; 49(12): 5526–5531. https://doi.org/10.1167/iovs.08-2196


 

Latest บทความ