บทความ
สาร CBD รักษาหรือบรรเทาโรคซึมเศร้าได้หรือไม่ ?
Published date: 3 มกราคม 2566 | 02.12 PM

โรคซึมเศร้า หนึ่งในโรคที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในสังคมยุคปัจจุบัน หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อโรคนี้จากสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือจากผู้คน 
ผู้ป่วยรอบตัว โดยโรคซึมเศร้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ลักษณะนิสัยโดยพื้นฐาน พันธุกรรม ทัศนคติ และสภาพแวดล้อม  
ซึ่งอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อการดำเนินชีวิต ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีผลลดประสิทธิภาพการทำงาน ณ ปัจจุบันวิธีการบรรเทาหรือรักษาโรคซึมเศร้ามีมากมายหลากหลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยจิตบำบัด การรักษาปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมอง (deep Transcranial Magnetic Stimulation: dTMS) หากอาการรุนแรง
จะต้องอาศัยยาแผนปัจจุบันในการรักษา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้ในการรักษามักมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมาค่อนข้างมาก [1] การหาทางเลือกเพื่อช่วยบรรเทาหรือรักษาอาการซึมเศร้าที่ให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

สารแคนนาบิไดออล หรือ CBD ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีรายงานประสิทธิภาพในการต้านอาการซึมเศร้าได้ (Anti-depressant effect) 
จากงานวิจัยในปี 2010 ที่รายงานประสิทธิภาพในการต้านอาการซึมเศร้าของ CBD ทั้งในสัตว์และในมนุษย์ [2,3] ผ่านกลไกการทำงานระหว่างสารเซโรโทนิน 
(Serotonin5-HT) และตัวรับเซโรโทนิน (5-HT1A receptor) ซึ่งคล้ายกับกลไกการออกฤทธิ์ของยาแผนปัจจุบัน เช่น ยากลุ่ม Serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) 
และกลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs) ที่อาศัยการยับยั้งการดูดซึมกลับของสาร Serotonin และ Noradrenaline ทำให้ระดับของ Noradrenaline และ Serotonin 
ในสมองเพิ่มขึ้น [4] ยิ่งไปกว่านั้น มีรายงานการวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของสาร CBD ร่วมกับยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine, FLX) กลุ่ม SSRIs และยาเดซิพรามีน (Desipramine, DES) กลุ่ม TCAs ในสัตว์ทดลอง พบว่า การใช้ยา FLX (5 mg/kg) ร่วมกับสาร CBD (7 mg/kg) มีประสิทธิภาพในการต้านอาการซึมเศร้าได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการใช้ CBD (7 mg/kg) หรือ FLX (5 mg/kg) เพียงอย่างเดียวการใช้ยาร่วมกันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่สำคัญ เนื่องจากการใช้ยา FLX มีผลข้างเคียงหลายประการ หากสามารถลดปริมาณยาลงและใช้ร่วมกับ CBD ทดแทนได้ แต่ยังคงให้ผลในการต้านซึมเศร้าที่ใกล้เคียงกัน มีโอกาสลดผลข้างเคียงที่เกิดจากใช้ FLX ลดลงได้ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามกลไกในการออกฤทธิ์ของ CBD ต่อระบบของเซโรโทนิน และแนวทางการใช้ในมนุษย์ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 

 

ในเดือนมีนาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา งานวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสาร Front Psychiatry รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยสาร CBD จำนวน 90 คน ระบุว่า ร้อยละ 53 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสาร CBD รู้สึกดีขึ้น [5] ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิภาพการบรรเทาความเครียด ลดความวิตกกังวล ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน

เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิผลสูงสุด การใช้ CBD เพื่อบรรเทาความเครียด อาการซึมเศร้า และเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญควรซื้อผลิตภัณฑ์ CBD ที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้และถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถดึงประสิทธิภาพของการใช้งานออกมาได้อย่างปลอดภัยและให้ผลคุ้มค่าที่สุด โดยทางบริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล ประเทศไทย ได้จำหน่ายสาร CBD รูปแบบต่าง ๆ ทั้งน้ำมัน CBD สารสกัด CBD บริสุทธิ์ หรือแบบผงที่สามารถละลายน้ำได้ระดับ Premium grade ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ในประเทศไทย มาพร้อมกับการตรวจคุณภาพโดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะด้านโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวก หลากหลาย และตอบวัตถุประสงค์ของการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 

เอกสารอ้างอิง

[1]    ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล บทความความรู้สำหรับประชาชน: โรคซึมเศร้าโดยละเอียด URL:   https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017 [อ้างอิงวันที่ 7 กันยายน 2565]

[2]    Ewa Poleszak, Sylwia Wosko, Karolina Sławinska, Aleksandra Szopa, Andrzej Wróbel, Anna Serefko. Cannabinoids in depressive disorders, Life Sciences, 2018; 213: 18-24.   https://doi.org/10.1016/j.lfs.2018.09.058

[3]    García-Gutiérrez MS, Navarrete F, Gasparyan A, Austrich-Olivares A, Sala F, Manzanares J. Cannabidiol: A Potential New Alternative for the Treatment of Anxiety, Depression, and Psychotic Disorders. Biomolecules. 2020 Nov 19;10(11):1575. doi: 10.3390/biom10111575.

[4]    Amanda J. Sales, Carlos C. Crestani, Francisco S. Guimarães, Sâmia R.L. Joca, Antidepressant-like effect induced by Cannabidiol is dependent on brain serotonin levels, Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry, 2018; 86: 255-261.   https://doi.org/10.1016/j.pnpbp.2018.06.002

[5]    Wieckiewicz G, Stokłosa I, Stokłosa M, Gorczyca P, Pudlo R. Cannabidiol (CBD) in the Self-Treatment of Depression-Exploratory Study and a New Phenomenon of Concern for Psychiatrists. Front Psychiatry. 2022 Mar 22;13:837946. doi: 10.3389/fpsyt.2022.837946. 

Latest บทความ